เมื่อไม่นานมานี้ทาง Red Hat ได้ประกาศส่ง High Performance Computing Platform หรือระบบคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ ออกมาอย่างเป็นทางการและมี support อยู่ใน red hat network แล้วหลังจากที่ได้ประกาศออกมาว่าจะส่ง High Performance Computing Platform เมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว ทำให้ตลาด High Performance Computing Platform ที่มีอยู่อย่างจำกัดในแวดวงการศึกษานั้นจะถูกขยายออกไปในแวดวงธุรกิจมากขึ้น โดยความสามารถของ High Performance Computing Platform นี้เป็นการรวมเอาพลังการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเฉพาะมาใช้ เพื่อคำนวนบางสิ่งบางอย่างที่พลังการประมวลผลในเครื่อง Server เครื่องเดียวไม่สามารถทำได้สำเร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่าง application ที่ต้องใช้พลังงานการประมวลผลที่มหาศาลพวกนี้เช่น การคำนวนเกี่ยวกับเรื่องชีวะวิทยา, การ render ภาพ 3 มิติ, การคำนวนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย

ในประเทศไทยเราเองก็มีการใช้งานระบบ High Performance Computing กันอยู่แค่ในวงการศึกษาหรืองานวิจัยต่างๆ และในประเทศไทยเองเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งศุนย์กลางเพื่อให้บริการพลังการประมวลผลอันมหาศาลนี้ขึ้นมา ซึ่งโครงการนี้ชื่อว่า “ThaiGrid”

ส่วนในต่างประเทศก็ได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยระบบคลัสเตอร์ที่เลื่ืองชื่อเรื่องความเร็วว่าเร็สที่สุด ณ เวลานี้คงหนีไม่พ้น Road Runner (ทำงานได้เร็วสุดที่ 1375.8 Tflops*) ที่เบียดแซง Blue Gene (ทำงานได้เร็วสุดที่ 596.4 Tflops*) ที่เ็ป็นแชมป์เก่าอย่างไปอย่างไร้ฝุ่น ซึ่งทั้งสองโครงการนี้สนับสนุนโดย IBM

* คือความเร็วในการประมวลผลแบบ Float instruction per Sec ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็อาจจะได้ว่า 1 Gflops = 1 Ghz

เอาไว้ว่างๆจะมาเขียนเรื่อง HPC หรือ High Performance Computing ว่ามันจะ install และ configure อย่างไร