ใน Linux เราสามารถตั้งค่าของ VLAN network ได้ไม่ยาก ซึ่ง Linux เองก็ support การทำงานของ VLAN ด้วยเช่นกันโดยใช้ driver 8021q ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นการทำ bonding channel + VLAN โดยขั้นตอนการติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้

1. ตรวจสอบดูว่า Linux ที่ใช้งานนี้ support การทำ VLAN หรือไม่โดยค้นหาว่ามี driver 8021q หรือไม่ ใช้คำสั่ง
lsmod | grep 8021q
2. ถ้า support ขั้นต่อมาให้ทำการ load driver 8021q ขึ้นมา
modprobe 8021q
3. ทำการสร้าง device bond0 ขึ้นมาที่ /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-bond0 และใส่ค่าตาม config ด้านล่าง
DEVICE=bond0
TYPE=Bonding
BOOTPROTO=none
ONBOOT=yes
IPADDR=0.0.0.0
NETMASK=0.0.0.0
USERCTL=no
MII_NOT_SUPPORTED=yes

4. ทำการแก้ไขไฟล์ config ของ ไฟล์ eth0 และ eth1 โดยบรรทัด Device=ethN ให้แก้ไขเป็น eth0 สำหรับไฟล์ eth0 และ eth1 สำหรับไฟล์ eth1 และใสค่าตาม config ด้านล่าง
DEVICE=ethN
BOOTPROTO=none
ONBOOT=yes
MASTER=bond0
SLAVE=yes
USERCTL=no

5. ขั้นต่อมาเราจะทำการสร้าง device ขึ้นมาให้รองรับ VLAN โดยในตัวอย่างจะเป็นการ config เพื่อให้รองรับ VLAN 2 โดยให้สังเกตจะมีจุดตามหลังด้วย 2 นั้นแสดงว่าเป็นการกำหนดให้ device ตัวนี้รองรับ VLAN 2 วิธีการคือสร้างไฟล์ bond0.2 ที่ /etc/sysconfig/network-scripts/ นั้นก็คือสร้างไฟล์ /etc/sysconfig/network-scripts/bond0.2 นั้นเอง และให้ใส่ config ตามตัวอย่างด้านล่างและแก้ไขค่า IPADDR และ NETMASK ให้เป็น IP และ CLASS ที่ต้องการ
DEVICE=bond0.2
BOOTPROTO=static
ONBOOT=yes
IPADDR=192.168.1.1
NETMASK=255.255.255.0
USERCTL=no
MII_NOT_SUPPORTED=yes
VLAN=yes

6. ทำการแก้ไข /etc/modprobe.conf โดยเพิ่มบรรทัดด้านล่างนี้ลงไป (เป็นการให้ Linux โหลด driver ของ bond0 และกำหนดการทำงานของ bond0 ให้ทำงานแบบ active-satndby)
install bond0 /sbin/modprobe bonding -o bond0 miimon=100 mode=1
7. ขั้นสุดท้ายคือการ restart service network
service network restart

* การทำงานของ bond0 ที่ได้สร้างขึ้นนี้จะทำงานในลักษณะที่มี network interface 2 card โดยที่ card 1 ทำงาน ส่วนอีกใบเป็นตัว standby