Linux vs Microsoft
kernel package ของ Red Hat นั้นมีอยู่ด้วยกันหลาย package มากซึ่งแต่ละ package จะมีคุณสมบัติที่ต่างกันออกไป ถ้าเรา install kernel ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้นะบบไม่สามารถมองเห็น hardware ที่อยู่ในเครื่องได้ครบถ้วน เช่น ถ้าเครื่องมี RAM 16 GB แต่เรา Install Red Hat แบบ 32 bit ด้วย kernel มาตราฐาน ระบบจะมองเห็น RAM แค่ 4GB เป็นต้น ดังนั้นถ้าเราเลือก kernel ให้ถูกต้องก็จะสามารถทำให้ระบบทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

รายละเอียดและคุณสมบัติของ kernel แต่ละแบบ มีดังนี้

  • kernel – เก็บ kernel มาตราฐาน:
    • รองรับ 1 CPU
    • รองรับ 1 multi-processor สำหรับ Intel EM64T systems ใน Red Hat Enterprise Linux 3 เท่านั้น
    • รองรับ RAM มากถึง 4GB สำหรับ 32bit หรือ x86
  • kernel-BOOT – เก็บ installation kernel (x86 เท่านั้น)
    • รองรับ 1 CPU
  • kernel-{*-}devel – เก็บ  kernel header files ซึ่งมาแทน kernel-source
  • Kernel-header – เก็บ C header files ของ kernel
  • kernel-debug – เก็บ kernel แต่เพิ่ม debugging options เข้าไป มีใน Red Hat Enterprise Linux 5 เท่านั้น
  • kernel-doc – เก็บ kernel documentation โดยจะอยู่ที่ /usr/src/linux{-*}/Documentation
  • kernel-hugemem – เป็น kernel เสริมซึ่งสังกัดอยู่ใน kernel-smp (รองรับ multi processor) มีใน 32 bit หรือ X86 เท่านั้น:
    • 4GB/4GB split – 4GB สำหรับ kernel และ 4GB สำหรับ user processor (โดยทั่วไปแล้ว 32 bit จะแบ่ง memory ออกเป็น 1GB สำหรับ kernel และ 3GB สำหรับ user process)
    • ต้องมี RAM มากกว่า 16 GB
    • รองรับ RAM ได้มากถึง 64 GB
    • ไม่มีใน Red Hat Enterprise Linux 5
  • kernel-PAE – เป็น kernel ที่รองรับ RAM มากถึง 16 GB มีใน Red Hat Entreprise Linux 5 แบบ 32 bit (X86) เท่านั้น
  • kernel-smp – in addition to the options of kernel:
    • รองรับ multi processor หรือ CPU มากกว่า 1 CPU (hint: ใน Linux version เก่าๆ ถ้ามี CPU มากกว่า 1 จำเป็นต้อง Install kernel ตัวนี้ ถ้า install kernel ธรรมดา linux จะมองเห็น CPU แค่ 1 CPU)
    • PAE หรือ Physical Address Extension (สำหรับ x86) รองรับ RAM มากถึง 16GB RAM
  • kernel-pcmcia-cs – เป็น kernel ที่รองรับ PCMCIA cards
  • kernel-source – เก็บ source code ของ kernel
  • kernel-utils – เก็บ utilities ต่างๆ ที่เอาไว้ใช้ในการควบคุม kernel หรือ system hardware
  • kernel-xenU – เป็น kernel ของ guests OS (paravirtualised)ใน Xen
  • kernel-xen – เป็น kernel ที่ไว้ใช้เป็น Xen Host (Virtual Machine) โดยจะแยกย่อยออกเป็น 2 สถาปัตยกรรมด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือก install kernel เป็นแบบ 32 bit, 64 bit หรือ Intel Itanium (64 bit) รายละเอียดของแต่ละสถาปัตยกรรม มีดังนี้
    • 32 bit หรือ X86 :
      • รองรับ RAM มากถึง 16 GB
      • รองรับ CPU มากถึง 16 CPU
    • 64 bit หรือ AMD64, Intel 64 :
      • รองรับ RAM มากถึง 1TB
      • RHEL5.0 และ 5.1 รองรับ CPU มากถึง 32 CPU
      • RHEL5.2 รองรับ CPU มากถึง 64 CPU
      • RHEL5.3 รองรับ CPU มากถึง 126 CPU
      • RHEL5.4 และ 5.5 รองรับ CPU มากถึง 192 CPU
    • Intel Itanium
      • รองรับ CPU มากถึง 32 CPU
  • kernel-{*-}unsupported – เป็น kernel ที่ทาง Red Hat ไม่ support คือถ้ามีปัญหาอะไรก็แก้เอง ถึงแม้จะมี service support ก็ตาม

อ้างอิงจาก Red Hat